นครทวารกะ เมืองใต้น้ำแห่งชมพูทวีป

tawaraka
ยังมีอะไรอีกมากมายบนโลกใบนี้ที่น่าค้นหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างมีคนชอบเยอะ ด้วยความที่มีคนอยากรู้กันมากมายถึงประวัติศาสตร์ในส่วนต่างๆ บนโลกใบนี้ว่าแต่ละพื้นที่มีประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันอย่างไร ในอดีตพื้นที่ตรงไหนเคยเจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุดแต่ทำไมในปัจจุบันนี้บางที่ก็กลายเป็นเมืองที่ไม่มีคนอยู่อาศัย บางเมืองก็กลับกลายจมบาดาลไปเสียอย่างนั้น เช่นเดียวกับเมืองๆ หนึ่งในบริเวณชมพูทวีปที่ในอดีตเมืองดังกล่าวจัดว่าเป็นเมืองที่ค่อนข้างมีชื่อเสียง ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี แต่มาในปัจจุบันเมืองแห่งนี้กลับกลายเป็นเมืองที่อยู่ใต้น้ำไปได้ เมืองที่ว่านี้ก็คือ นครทวารกะ ในดินแดนชมพูทวีป นครทวารกะ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกแห่งแผ่นดินชมพูทวีป เชื่อกันว่าเป็นเมืองที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ยุค 500 ปีก่อนคริสตกาล ผู้ที่ก่อสร้างเมืองนี้ขึ้นมาก็คือ พระกฤษณะ เป็นผู้ที่อพยพมาจากเมือง มถุรา นครทวารกะที่ว่านี้เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลอาหรับ บริเวณแคว้นคุชราต โดยเมืองนี้ก็อยู่เย็นเป็นสุขมาได้ปกติไม่ได้มีปัญหาอะไรให้ต้องหนักอกหนักใจมากนัก จนกระทั่งมาถึงในช่วงหลังจากสงครามทุ่งกุรุเกษตร คานธารี ซึ่งเป็นมารดาของ ทุรโยธน์ ก็มีความเชื่อว่า สาเหตุที่ทำให้ทุรโยธน์พร้อมด้วยลูกๆ ของเขาอีกจำนวน 99 คนต้องเสียชีวิตลงเกิดจากตัวของ พระกฤษณะ จนทำให้ไม่มีใครที่จะสามารถสืบทอดสกุลเการพของเขาได้อีกต่อไป นางจึงได้มีการสาปแช่งพระกฤษณะด้วยถ้อยคำที่ค่อนข้างโหดร้าย คำสาปแช่งดังกล่าวได้ระบุว่า ต่อไปนี้ด้วยระยะเวลาอีก 36 ปี จะขอทำการสาปแช่งให้ตัวของพระกฤษณะและสกุลยาทพต้องมีจุดจบเช่นเดียวกับลูกชายของตนเอง ส่วนญาติๆ ของพระกฤษณะก็ต้องมาฆ่าฟันกันเองจนตาย ทางด้านเมืองทวารกะของพระกฤษณะก็ต้องจมบาดาลไปเป็นระยะเวลานานหลายพันปี ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าในอีก 36 ปีต่อมา เรื่องคำสาปแช่งของ คานธารี จะเป็นจริง เมืองทวารกะได้จมลงไปใต้สมุทรเป็นเวลาหลายพันปี จนเมื่อราวๆ 50 ปี ก่อนได้มีนักสำรวจชาวอินเดียที่กำลังทำการสำรวจทะเลอาหรับก็พบว่าตำนานที่เล่าขานกันมามันไม่ใช่เรื่องเล่าสู่กันฟัง แต่มันคือตำนานที่มีอยู่จริง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันชื่อของเมืองทวารกะได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่สมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 ซึ่งเป็นพระเจ้าแห่งราชวงศ์คุปตะ ซึ่งอีกเรื่องหนึ่งที่ทุกคนคุ้นหูก็คือหากใครเคยอ่านตำนานอย่างมหาภารตะ ก็น่าจะพอเข้าใจกับตำนานเรื่องนี้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน